วันพุธที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2557

รายการที่ 8 เดิน วิ่งทางไกล (Long Distance Run) 1000 เมตร และ 800 เมตร

การทดสอบสมรรถภาพทางกาย โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม
รายการที่ 8 เดิน วิ่งทางไกล (Long Distance Run) 1000 เมตร และ 800 เมต


วัตถุประสงค์ วัดความทนทานของกล้ามเนื้อและระบบการหายใจ

อุปกรณ์
           1) นาฬิกาจับเวลา (บอกทศนิยมตัวแรกของวินาที)
       
           2) สนามวิ่ง วัดระยะให้ถูกต้อง ชายวิ่ง 1000 เมตร หญิงวิ่ง 800 เมตร
วิธีทดสอบ


           เมื่อผู้ปล่อยตัวให้สัญญาณ "เข้าที่" ผู้เข้ารับการทดสอบยืนให้ปลายเท้าข้างใดข้างหนึ่ง
ชิดเส้นเริ่ม เมื่อพร้อมแล้วผู้ปล่อยตัวสั่ง "ไป" ให้ผู้เข้ารับการทดสอบวิ่งไปตามเส้นทางกำหนด พยายามใช้เวลาน้อยที่สุด ควรรักษาความเร็วให้คงที่ ถ้าวิ่งไม่ไหวอาจหยุดเดิน แล้ววิ่งต่อหรือเดินไประยะทาง

การบันทึก บันทึกเวลาเป็นนาทีและวินาที

หมายเหตุ
            1) ควรมีการ warm up ก่อนเข้ารับการทดสอบ และ cool down ภาพหลังการทดสอบ
ที่มา:  สำนักพัฒนาการพลศึกษา สุขภาพ และนันทนาการ กรมพลศึกษา กระทรวงการศึกษาธิการ 2541



รายการที่ 7 งอแขนห้อยตัวหญิง (Flexed-arm Hang)

การทดสอบสมรรถภาพทางกาย  โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม
รายการที่ 7 งอแขนห้อยตัวหญิง (Flexed-arm Hang)







วัตถุประสงค์ วัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนและไหล่


อุปกรณ์
             1) ราวเดียว มีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 2-4 เซนติเมตร
             2) ม้านั่งสำหรับให้ผู้เข้าสอบจับราวเดี่ยวได้สะดวก

วิธีทดสอบ
    จัดม้านั่งสำหรับรองเท้าใกล้ราวเดี่ยวให้สูงพอที่ผู้ทดสอบยืนตรงบนม้านั่ง แล้วคางจะอยู่เหนือราวเล็กน้อยให้ผู้เข้ารับการทดสอบจับราวในท่าคว่ำมือ ให้มือห่างกันเท่ากับช่วงไหล่ และแขนงอเต็มที่ เมื่อได้รับสัญญาเริ่มผู้เข้ารับการทดสอบเกร็งข้อแขน และดึงตัวไว้ในเท่าเดิมให้นานที่สุด ถ้าคางต่ำลงถึงราวให้ยุติประลอง

การบันทึก บันทึกเป็นเวลาวินาทีจาก "เริ่ม" จนคางต่ำถึงราว

หมายเหตุ
               เมื่อเริ่มในการทดสอบ ควรให้ผู้ทดสอบยืนอยู่บนม้านั่งสำหรับให้ผู้ทดสอบยืนจับราวเดี่ยวได้สะดวกก่อน เพราะจะทำให้ผู้ทดสอบจัดท่าทางได้ถูกต้องและจับราวเดี่ยวได้มั่นคง

รายการที่7 ดึงข้อชาย (Pull up) งอแขนห้อยตัวหญิง (Flexed-arm Hang)

การทดสอบสมรรถภาพทางวิกาย โรงเรียนยานนาเวศวิยาคม
รายการที่  7 ดึงข้อชาย (Pull up) งอแขนห้อยตัวหญิง (Flexed-arm Hang)



วัตถุประสงค์  วัดความแข็งแรงของแขนและไหล่

อุปกรณ์
          1)ราวเดี่ยว
          2)ม้านั่งสำหรับผู็เข้าทดสอบจับราวเดี่ยวได้สะดวก

วิธีทดสอบ  
              ให้ผู้เข้ารับการทดสอบจับราวให้ท่าคว่ำมือ ให้มือห่างกันเท่ากับช่วงไหล่ ปล่อยตัวจนแขนลำตัวและขาเหยียดตรงเป็นท่าเริ่มต้น งอแขนดึงตัวขึ้นจนคางอยู่เหนือราวแล้วกลับสู่ท่าเริ่มต้น  ทำติดต่อกันไปให้ได้จำนวนครั้งมากที่สุดห้ามแกว่งเท้าหีือเตะขา  ถ้าหยุดพักระหว่างทดสอบ นานเกิน 3-4 นาทีหรือไม่สามารถดึงตัวขึ้นไปให้คางพ้นราวได้ 2 ครั้งติดต่อดันให้ยุติการประลอง

การบันทึก  บันทึกจำนวนครั้งที่ดึงขึ้นได้อย่างถูกต้อง  และคางพ้นราว

หมายเหตุ
             เมื่อเริ่มต้นในการทดสอบ ควรให้ผู้ทดสอบยืนอยู่บนม้านั่งสำหรับรองให้ผู้ทดสอบยืนจับราวเดี่นสได้สะดวกก่อน  เพราะจะทำให้ผู้ทดสอบจัดท่าทางได้ถูกต้องและจับราวเดี่ยวได้มั่นคง 

รายการที่ 6 แรงบีบมือที่ถนัด (Grip Strength)

การทดสอบสมรรถภาพทางกาย  โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม
รายการที่ 6 แรงบีบมือที่ถนัด (Grip Strength)



วัตถุประสงค์  เพื่อวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนที่ถนัด

อุปกรณ์  
           1)เครื่องวัดแรงบีบมือ Dynamometer
       
วิธีทดสอบ          
       ให้ผู้เข้ารับการทดสอบปรับเครื่องวัด แล้วจับเครื่องวัดให้เหมาะสมกับมือที่สุด  โดยให้นิ้วข้อที่2 รับน้ำหนักของเครื่องวัด ยินตรงปล่อยแขนห้อยข้างลำตัว เมื่อพร้อมให้ยกแขนออกห่างลำตัวเล็กน้อย กำมือบีบเครื่องวัดจนสุดแรงระหว่างบีบห้ามไม่ให้มือหรือเครื่องวัดถูกส่วนใดส่วนหนึ่งของลำตัว ห้ามเหวี่ยงเครื่องวัดหรือโถมตัวอีดแรง ให้ทดสอบแรงบีบมือข้างละ 2 ครั้ง

การบันทึก  บันทึกเวลาเป็นกิโลกรัม  โดยที่เลือกค่าที่ดีที่สุด

หมายเหตุ  
             1)ควรยินแยกเท้าห่างกันหนึ่งช่วงไหล่

ที่มา: สำนักพัฒนาการพลศึกษา สุขภาพ และนันทนาการ กรมพลศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 2541

รายการที่ 5 วิ่งเร็ว 50 เมตร ( 50-Meter Sprint)

การทดสอบสมรรถภาพทางกาย โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม
รายการที่  5 วิ่งเร็ว 50 เมตร ( 50-Meter Sprint)


วัตถุประสงค์  วัดความเร็ว 50 เมตร 

อุปกรณ์  
           1)นาฬิกาจับเวลาอ่านละเอียด 1/100 วินาที
       
           2)ทางวิ่งเรียบ 50 เมตร มีเส้นเริ่มและเส้นชัย
           3)ธงแดง
           
วิธีทดสอบ   เมื่อผู้ปล่อยตัวให้สัญญาณ "เข้าที่" ให้ผู้รับการทดสอบยืนให้ปลายเท้าช้างหนึ่งข้างยู่ใดชิดเส้นเริ่ม  เมื่อพร้อมแล้วให้สัญญาณปล่อยตัวผู้รับการทดสอบออกวิ่งเต็มที่จนผ่านเส้นชัย  ให้ประลอง 2 ครั้ง ใช้ครั้งที่เวลาดีที่สุด

การบันทึก  บันทึกเวลาเป็นวินาทีและทศนิยมสองตำแหน่ง

หมายเหตุ
             1)ไม่ใช้รองเท้าตะปู      2)ทางที่วิ่งควรเรียบตรงให้อยู่ในสภาพที่ดี


รายการที่ 4 วิ่งเก็บของ (Shuttle Run)

การทดสอบสมรรถภาพทางกายโรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม
รายการที่ 4 วิ่งเก็บของ (Shuttle Run)



วัตถุประสงค์  วัดความคล่องตัว

อุปกรณ์
           1)นาฬิกาจับเวลาอ่านละเอียด 1/10 วินาที
       
           2)ทางวิ่งเรียบระหว่างเส้นขนาน 2 เส้น ห่างกัน 10 เมตร ชิดด้านนอกของเส้นทั้งมีวงกลมดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 50 ซม. ถัดออกไปจากเส้นเริ่ม ควรมีทางวิ่งให้วิ่งต่อไปอีกอย่างน้อย 3 เมตร
           3)ท่อนไม้ 2 ท่อน อื่นๆ
      

เจ้าหน้าที่  ผู้ปล่อยตัวและจับเวลา 1 คน ผู้วางไม้และผู้บันทึก 1 คน

วิธีการ  วางไม้ทั้งสองท่อนไว้ตรงกลางวงที่อยู่ชิดเส้นตรงข้ามเริ่ม ผู้รับการทดสอบยืนให้เท้าชิดเส้นเริ่ม
แล้วกลับปล่อยตัวสั่ง "ไป" ให้ผู้รับการทดสอบวิ่งไปหยิบท่อนไม่ในวงกลม 1 ท่อน วิ่งกลับมาวางในวงกลมหลังเส้นเริ่ม  แล้วกลับตัววิ่งไปหยิบท่อนไม้อีกท่อนหนึ่งวิ่งกลับมาวางในวงกลมหลังเส้นเริ่ม  แล้ววิ่งเลยไป  ห้ามโยนไม้  ถ้าวางไม่เข้าในวง  ต้องเริ่มต้นใหม่

การบันทึก

บันทึกเวลาตั้งแต่ไปจนถึงวางท่อนไม้ท่อนที่ 2 ลง ให้ประลอง 2 ครั้ง ใช้ผลของครั้งที่เวลาดีที่สุด

วันอังคารที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2557

รายการที่ 3 ลุก-นั่ง วินาที (30-Second Sit-ups)

การทดสอบสมรรถภาพ โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม
รายการที่ 3 ลุก-นั่ง วินาที (30-Second Sit-ups)



วัตถุประสงค์     วัดความแข็งแรงและทนทานของกล้ามเนื้อท้อง

อุปกรณ์
            1)นาฬิกาตจับเวลา 1 เรือน
       
            2)เบาะยูโด หรือที่นอนบางๆ 1 ผืน

เจ้าหน้าที่  ผู้จัดท่าและจับเวลา 1 คน ผู้นับจำนวนครั้งและผู้บันทึก 1 คน

วิธีการ  จัดผู้รับการทดสอบเป็นคู่ ให้ผู้รับการทดสอบคนแรกนอนหงายบนเบาะเข่างอตั้งเป็นมุมฉากเท้าแยกห่างกันประมาณ 30 ซม. ประสานนิ้วมือรองเท้าทอยไว้ ผู้ทดสอบผู้ที่2 คุกเข่าที่ปลายเท้าของผู้รับการทดสอบ (หันหน้าเข้าหากัน) มือทั้งสองกำและกดข้อเท้าของผู้รับการทดสอบ ไว้ ให้หลังติดพื้นเมื่อให้สัญญาณบอก "เริ่ม" พร้อมกับจับเวลา

การบันทึก  บันทึกจำนวนครั้งที่ทำถูกต้องใน 30 วินาที