วันพุธที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2557

รายการที่ 8 เดิน วิ่งทางไกล (Long Distance Run) 1000 เมตร และ 800 เมตร

การทดสอบสมรรถภาพทางกาย โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม
รายการที่ 8 เดิน วิ่งทางไกล (Long Distance Run) 1000 เมตร และ 800 เมต


วัตถุประสงค์ วัดความทนทานของกล้ามเนื้อและระบบการหายใจ

อุปกรณ์
           1) นาฬิกาจับเวลา (บอกทศนิยมตัวแรกของวินาที)
       
           2) สนามวิ่ง วัดระยะให้ถูกต้อง ชายวิ่ง 1000 เมตร หญิงวิ่ง 800 เมตร
วิธีทดสอบ


           เมื่อผู้ปล่อยตัวให้สัญญาณ "เข้าที่" ผู้เข้ารับการทดสอบยืนให้ปลายเท้าข้างใดข้างหนึ่ง
ชิดเส้นเริ่ม เมื่อพร้อมแล้วผู้ปล่อยตัวสั่ง "ไป" ให้ผู้เข้ารับการทดสอบวิ่งไปตามเส้นทางกำหนด พยายามใช้เวลาน้อยที่สุด ควรรักษาความเร็วให้คงที่ ถ้าวิ่งไม่ไหวอาจหยุดเดิน แล้ววิ่งต่อหรือเดินไประยะทาง

การบันทึก บันทึกเวลาเป็นนาทีและวินาที

หมายเหตุ
            1) ควรมีการ warm up ก่อนเข้ารับการทดสอบ และ cool down ภาพหลังการทดสอบ
ที่มา:  สำนักพัฒนาการพลศึกษา สุขภาพ และนันทนาการ กรมพลศึกษา กระทรวงการศึกษาธิการ 2541



รายการที่ 7 งอแขนห้อยตัวหญิง (Flexed-arm Hang)

การทดสอบสมรรถภาพทางกาย  โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม
รายการที่ 7 งอแขนห้อยตัวหญิง (Flexed-arm Hang)







วัตถุประสงค์ วัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนและไหล่


อุปกรณ์
             1) ราวเดียว มีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 2-4 เซนติเมตร
             2) ม้านั่งสำหรับให้ผู้เข้าสอบจับราวเดี่ยวได้สะดวก

วิธีทดสอบ
    จัดม้านั่งสำหรับรองเท้าใกล้ราวเดี่ยวให้สูงพอที่ผู้ทดสอบยืนตรงบนม้านั่ง แล้วคางจะอยู่เหนือราวเล็กน้อยให้ผู้เข้ารับการทดสอบจับราวในท่าคว่ำมือ ให้มือห่างกันเท่ากับช่วงไหล่ และแขนงอเต็มที่ เมื่อได้รับสัญญาเริ่มผู้เข้ารับการทดสอบเกร็งข้อแขน และดึงตัวไว้ในเท่าเดิมให้นานที่สุด ถ้าคางต่ำลงถึงราวให้ยุติประลอง

การบันทึก บันทึกเป็นเวลาวินาทีจาก "เริ่ม" จนคางต่ำถึงราว

หมายเหตุ
               เมื่อเริ่มในการทดสอบ ควรให้ผู้ทดสอบยืนอยู่บนม้านั่งสำหรับให้ผู้ทดสอบยืนจับราวเดี่ยวได้สะดวกก่อน เพราะจะทำให้ผู้ทดสอบจัดท่าทางได้ถูกต้องและจับราวเดี่ยวได้มั่นคง

รายการที่7 ดึงข้อชาย (Pull up) งอแขนห้อยตัวหญิง (Flexed-arm Hang)

การทดสอบสมรรถภาพทางวิกาย โรงเรียนยานนาเวศวิยาคม
รายการที่  7 ดึงข้อชาย (Pull up) งอแขนห้อยตัวหญิง (Flexed-arm Hang)



วัตถุประสงค์  วัดความแข็งแรงของแขนและไหล่

อุปกรณ์
          1)ราวเดี่ยว
          2)ม้านั่งสำหรับผู็เข้าทดสอบจับราวเดี่ยวได้สะดวก

วิธีทดสอบ  
              ให้ผู้เข้ารับการทดสอบจับราวให้ท่าคว่ำมือ ให้มือห่างกันเท่ากับช่วงไหล่ ปล่อยตัวจนแขนลำตัวและขาเหยียดตรงเป็นท่าเริ่มต้น งอแขนดึงตัวขึ้นจนคางอยู่เหนือราวแล้วกลับสู่ท่าเริ่มต้น  ทำติดต่อกันไปให้ได้จำนวนครั้งมากที่สุดห้ามแกว่งเท้าหีือเตะขา  ถ้าหยุดพักระหว่างทดสอบ นานเกิน 3-4 นาทีหรือไม่สามารถดึงตัวขึ้นไปให้คางพ้นราวได้ 2 ครั้งติดต่อดันให้ยุติการประลอง

การบันทึก  บันทึกจำนวนครั้งที่ดึงขึ้นได้อย่างถูกต้อง  และคางพ้นราว

หมายเหตุ
             เมื่อเริ่มต้นในการทดสอบ ควรให้ผู้ทดสอบยืนอยู่บนม้านั่งสำหรับรองให้ผู้ทดสอบยืนจับราวเดี่นสได้สะดวกก่อน  เพราะจะทำให้ผู้ทดสอบจัดท่าทางได้ถูกต้องและจับราวเดี่ยวได้มั่นคง 

รายการที่ 6 แรงบีบมือที่ถนัด (Grip Strength)

การทดสอบสมรรถภาพทางกาย  โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม
รายการที่ 6 แรงบีบมือที่ถนัด (Grip Strength)



วัตถุประสงค์  เพื่อวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนที่ถนัด

อุปกรณ์  
           1)เครื่องวัดแรงบีบมือ Dynamometer
       
วิธีทดสอบ          
       ให้ผู้เข้ารับการทดสอบปรับเครื่องวัด แล้วจับเครื่องวัดให้เหมาะสมกับมือที่สุด  โดยให้นิ้วข้อที่2 รับน้ำหนักของเครื่องวัด ยินตรงปล่อยแขนห้อยข้างลำตัว เมื่อพร้อมให้ยกแขนออกห่างลำตัวเล็กน้อย กำมือบีบเครื่องวัดจนสุดแรงระหว่างบีบห้ามไม่ให้มือหรือเครื่องวัดถูกส่วนใดส่วนหนึ่งของลำตัว ห้ามเหวี่ยงเครื่องวัดหรือโถมตัวอีดแรง ให้ทดสอบแรงบีบมือข้างละ 2 ครั้ง

การบันทึก  บันทึกเวลาเป็นกิโลกรัม  โดยที่เลือกค่าที่ดีที่สุด

หมายเหตุ  
             1)ควรยินแยกเท้าห่างกันหนึ่งช่วงไหล่

ที่มา: สำนักพัฒนาการพลศึกษา สุขภาพ และนันทนาการ กรมพลศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 2541

รายการที่ 5 วิ่งเร็ว 50 เมตร ( 50-Meter Sprint)

การทดสอบสมรรถภาพทางกาย โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม
รายการที่  5 วิ่งเร็ว 50 เมตร ( 50-Meter Sprint)


วัตถุประสงค์  วัดความเร็ว 50 เมตร 

อุปกรณ์  
           1)นาฬิกาจับเวลาอ่านละเอียด 1/100 วินาที
       
           2)ทางวิ่งเรียบ 50 เมตร มีเส้นเริ่มและเส้นชัย
           3)ธงแดง
           
วิธีทดสอบ   เมื่อผู้ปล่อยตัวให้สัญญาณ "เข้าที่" ให้ผู้รับการทดสอบยืนให้ปลายเท้าช้างหนึ่งข้างยู่ใดชิดเส้นเริ่ม  เมื่อพร้อมแล้วให้สัญญาณปล่อยตัวผู้รับการทดสอบออกวิ่งเต็มที่จนผ่านเส้นชัย  ให้ประลอง 2 ครั้ง ใช้ครั้งที่เวลาดีที่สุด

การบันทึก  บันทึกเวลาเป็นวินาทีและทศนิยมสองตำแหน่ง

หมายเหตุ
             1)ไม่ใช้รองเท้าตะปู      2)ทางที่วิ่งควรเรียบตรงให้อยู่ในสภาพที่ดี


รายการที่ 4 วิ่งเก็บของ (Shuttle Run)

การทดสอบสมรรถภาพทางกายโรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม
รายการที่ 4 วิ่งเก็บของ (Shuttle Run)



วัตถุประสงค์  วัดความคล่องตัว

อุปกรณ์
           1)นาฬิกาจับเวลาอ่านละเอียด 1/10 วินาที
       
           2)ทางวิ่งเรียบระหว่างเส้นขนาน 2 เส้น ห่างกัน 10 เมตร ชิดด้านนอกของเส้นทั้งมีวงกลมดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 50 ซม. ถัดออกไปจากเส้นเริ่ม ควรมีทางวิ่งให้วิ่งต่อไปอีกอย่างน้อย 3 เมตร
           3)ท่อนไม้ 2 ท่อน อื่นๆ
      

เจ้าหน้าที่  ผู้ปล่อยตัวและจับเวลา 1 คน ผู้วางไม้และผู้บันทึก 1 คน

วิธีการ  วางไม้ทั้งสองท่อนไว้ตรงกลางวงที่อยู่ชิดเส้นตรงข้ามเริ่ม ผู้รับการทดสอบยืนให้เท้าชิดเส้นเริ่ม
แล้วกลับปล่อยตัวสั่ง "ไป" ให้ผู้รับการทดสอบวิ่งไปหยิบท่อนไม่ในวงกลม 1 ท่อน วิ่งกลับมาวางในวงกลมหลังเส้นเริ่ม  แล้วกลับตัววิ่งไปหยิบท่อนไม้อีกท่อนหนึ่งวิ่งกลับมาวางในวงกลมหลังเส้นเริ่ม  แล้ววิ่งเลยไป  ห้ามโยนไม้  ถ้าวางไม่เข้าในวง  ต้องเริ่มต้นใหม่

การบันทึก

บันทึกเวลาตั้งแต่ไปจนถึงวางท่อนไม้ท่อนที่ 2 ลง ให้ประลอง 2 ครั้ง ใช้ผลของครั้งที่เวลาดีที่สุด

วันอังคารที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2557

รายการที่ 3 ลุก-นั่ง วินาที (30-Second Sit-ups)

การทดสอบสมรรถภาพ โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม
รายการที่ 3 ลุก-นั่ง วินาที (30-Second Sit-ups)



วัตถุประสงค์     วัดความแข็งแรงและทนทานของกล้ามเนื้อท้อง

อุปกรณ์
            1)นาฬิกาตจับเวลา 1 เรือน
       
            2)เบาะยูโด หรือที่นอนบางๆ 1 ผืน

เจ้าหน้าที่  ผู้จัดท่าและจับเวลา 1 คน ผู้นับจำนวนครั้งและผู้บันทึก 1 คน

วิธีการ  จัดผู้รับการทดสอบเป็นคู่ ให้ผู้รับการทดสอบคนแรกนอนหงายบนเบาะเข่างอตั้งเป็นมุมฉากเท้าแยกห่างกันประมาณ 30 ซม. ประสานนิ้วมือรองเท้าทอยไว้ ผู้ทดสอบผู้ที่2 คุกเข่าที่ปลายเท้าของผู้รับการทดสอบ (หันหน้าเข้าหากัน) มือทั้งสองกำและกดข้อเท้าของผู้รับการทดสอบ ไว้ ให้หลังติดพื้นเมื่อให้สัญญาณบอก "เริ่ม" พร้อมกับจับเวลา

การบันทึก  บันทึกจำนวนครั้งที่ทำถูกต้องใน 30 วินาที

รายการที่ 2 ยืนกระโดดไกล (Standing Board Jump)

การทดสอบสมรรถภาพทางกาย โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม
รายการที่ 2 ยืนกระโดไกล (Standing Board Jump)


วัตถุประสงค์  วัดความแข็งแรง และพลังกล้ามเนื้อขาและสะโพก

อุปกรณ์    1) แผ่นยางยืนกระโดไกล และเบาะรอง
                 
                  2) ไม้วัด
                  3) กระบะใส่ผงปูนขาว


เจ้าหน้าที่     ผู้วัดระยะ 1 คน ผู้บันทึก 1 คน ผู้จัดท่า 1 คน

วิธีการ    ให้ผู้รับการทดสอบเหยียบผงปูนขาวด้วยส้นเท้า  แล้วยืนปลายเท้าทั้งสองชิดด้านหลังของเส้นเริ่นบนแผ่นยางหรือบนพื้นดินที่เรียบไม่ลื่น เหวี่ยงแขนไปด้านหน้าอย่างแรง  พร้อมกับกระโดดด้วยเท้าทั้งสองข้างไปข้างหน้าให้ไกลที่สุดใช้ไม้วัดทาบตั้งฉากกับเส้นเริ่มและขนานกับขีดบอกระยะวัดจนถึงรอยส้นเท้าที่ ใกล้เส้นเริ่มต้นมากที่สุด อ่านระยะจากขีดบอกระยะ กรณีผู้รับการทดสอบเสียหลักหงายหลัง ก้นหรือมือแตะพื้นให้ประลองใหม่
การบันทึก  บันทึกระยะทางเป็นเซนติเมตร เอาระยะที่ไกลจากการกว่าประลอง 2 ครั้ง

รายการที่ 1 งอตัวข้างหน้า (Sit and Reach)

การทดสอบสมรรถภาพทางกาย โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม
รายการที่ 1 งอตัวข้างหน้า (Sit and Reach)



วัตถุประสงค์  วัดความอ่อนตัว

อุปกรณ์  กล่องวัดความอ่อนตัว 1 ตัว เป็นกล่องขนาด 30x30x30 เซนติเมตร โดยที่ จุด "0" อยู่ตรงที่
ยันเท้า

เจ้าหน้าที่  ผู้วัดระยะ 1 คน ผู้บันทึก 1 คน

วิธีการ ให้ผู้รับการทดสอบนั่งเหยียดขาตรง สอดเท้าเข้ามาใต้ม้าวัด โดยเท้าตั้งฉากกับพื้นและชิดกัน ฝ่าเท้าจรดแนบกับที่ยันเท้า เหยียดแขนตรงขนานกับพื้นแล้วค่อยๆ ก้มตัวไปข้างหน้าให้มืออยู่บนม้าวัดจนไม่สามารถก้มได้ต่อไป ให้ปลายมือเสมอกัน และรักษาระยะไว้ได้นาน 2 วินาที อ่านระยะจากจุด "0" ถึงปลายมือ (ห้ามโยกตัวหรืองอตัวแรงๆ)
การบันทึก  บันทึกระยะเป็นเซนติเมตร ถ้าเหยียดจนปลายมือเลยปลายเท้าบันทึกค่าเป็นบวก ถ้าไม่ถึงปลายเท้าค่าเป็นลบ ใช้ค่าบวกที่ดีกว่าจากการประลอง 2 ครั้ง

แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายมาตรฐานระหว่างประเทศ (ICSPFT)


แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายมาตรฐานระหว่างประเทศ (ICSPFT) ประกอบด้วยแบบทดสอบ ดังนี้

1.  วิ่งเร็ว 50 เมตร
2.  วิ่งเก็บของ
3.  ยืนกระโดดไกล
4.  แรงบีบมือที่ถนัด
5.  งอตัวข้างหน้า
6.  ลุกนั่ง 30 วินาที
7.  ดึงข้อ (ชายอายุ 12ปี ขึ้นไป) หรืองอแขนห้อยตัว (ชายอายุต่ำกว่า 12ปี และหญิง)
8.  เดิน วิ่งทางไกล : 1000  เมตร สำหรับชายอายุ 12 ปีขึ้นไป
                          : 800   เมตร สำหรับหญิงอายุ 12 ปีขึ้นไป
                          : 600   เมตร สำหรับชายและหญิงอายุต่ำกว่า 12 ปี
(ที่มา กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 2550)
        
               กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพละศึกษา โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม ได้กำหนดแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อใช้แบบทดสอบสมรรถภาพ  ทางกายของนักเรียนในโรงเรียน ประกอบด้วยแบบทดสอบ 8 รายการ ได้แก่
                   1. งอตัวข้างหน้า (Sit and Reach)
                   2. ยืนกระโดดไกล (Standing Board Jump)
                   3. ลุก-นั่ง (เข่างอ) (30-Second Sit-ups)
                   4. วิ่งเก็บของ (Shuttle Run)
                   5. วิ่ง 50 เมตร (50-Meter Sprint)
                   6. ดึงข้อ สำหรับชาย หรือ งอแขนห้อยตัวสำหรับหญิง
                   7. เดิน วิ่งทางไกล 1000 เมตร สำหรับชาย
                   8. เดิน วิ่งทางไกล 800   เมตร สำหรับหญิง

                                แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายโรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม

  องค์ประกอบของสมรรถภาพทางกาย                                                  แบบทดสอบ
  • ความอ่อนตัว                                                         งอตัวข้างหน้า (Sit and Reach)
  • ความแข็งแรง/พลังกล้ามเนื้อและสโพก                        ยืนกระโดดไกล (Standing Board Jump)
  • ความแข็งแรง/ความอดทนของกล้ามเนื้อหน้าท้อง          ลุก-นั่ง (30-Second Sit-ups)
  • ความคล่องแคล่วว่องไว                                           วิ่งเก็บของ (Shuttle Run)
  • ความเร็ว                                                              วิ่งเร็ว 50 เมตร (50-Meter Sprint)

สมรรถภาพทางกาย(ความหมาย)

            สมรรถภาพทางกายที่ดีเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต และประกอบด้วยภารกิจประจำวัน หรือออกกำลังกายเล่นกีฬาได้อย่างมีประสิทธิภาพ การที่จะทำให้ร่างกายมีสมรรถภาพที่ดีได้นั้น อาศัยการออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬาประจำสม่ำเสมอ นอกจากนนั้นควรมีโภชนาการที่ดีด้วย
              
              สมรรถภาพทางกาย หมายถึง ความสามารถของร่างกายในการประกอบกิจกรรมเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือเป็นลักษณะของร่างกายที่มีความสบูรณ์แข็งแกร่งอดทนต่อการปฎิบัติงาน มีความคล่องแคล่วว่องไว ร่างกายมีภูมิต้านทานสูง ผู้มีสมรรถภาพทางกายดีมักจพะเป็นผู้ที่มีจิตใจร่าเริงแจ่มใส และมีร่างกายสง่าผ่าเผย สามารถปฎิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งเป็นผลมาจากการปรับปรุงสภาพร่างกายในทุกแบบ ทำให้ปฎิบัติหน้าที่และประสานงานกันมีประสิทธิภาพมากขึ้น(ชาญยุทธ สวนสังข์ 2554)
       
               การทดสอบสมรรถภาพทางกาย เป็นวิธีที่จะบ่งบอกถึงสภาพความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายหรือสมรรถภาพทางกายและด้านดีมากน้อยเพียงใด ในปี ค.ศ.1964 ที่นครโตเกียว ในระหว่างที่มีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 19 ได้มีการตั้งคณะกรรมการนานาชาติเพื่อจัดมาตรฐานการทดสอบความสมบูรณ์ทางกาย( ICSPFT ) : International for Standardization of Physical Fitness Test) เพื่อทำการศึกษาหาแบบทดสอบความสมบูรณ์ทางกายที่จะใช้เป็นมาตรฐานทั่วโลก

               สำหรับประเทศไทยการทดสอบแบบ ICSPFT ได้ทำการทดสอบครั้งแรกประมาณปี พ.ศ.2515 โดยช่วงแรกทำการทดสอบที่โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย และโรงเรียนสวนบัว รวมทั้งทำการทดสอบในนักกีฬาไทยด้วย ซึ่งวิธีการดังกล่าวถูกนำมาใช้ทดสอบและประเมินสมรรถภาพ ทางกาย เด็ก เยาวชน และประชาชนอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพราะวิธีการ อุปกรณ์ทดสอบไม่ยุ่งยากสามารถทำได้กับกลุ่มคนเป็นจำนวนมาก

              กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม ได้เห็นความสำคัญในการดำเนินการทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 เพื่อประโยชน์ในการประเมินสมรรถภาพทางกายของนักเรียน


            ICSPFT ได้จำแนกสมรรภาพทางกายพื้นฐานออกเป็น 7 ประเภท คือ

1. ความเร็ว (Speed) หมายถึง ความสามารถของกล้ามเนื้อที่สามารถทำงาน หรือเคลื่อนที่ช้าๆ กันได้อย่างรวดเร็ว

2. พลังกล้ามเนื้อ (Muscle Power) หมายถึง ความสามารถของกล้ามเนื้อที่หดตัวได้แรง และทำให้วัตถุหรือร่างกายเคลื่อนออกไปเป็นระยะทางมากที่สุดภานในเวลาที่จำกัด

3. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscle Strength) หมายถึง ความสามารถของกล้ามเนื้อที่หดตัว เพื่อเคลื่อน้ำหนักหรือต้านน้ำเพียงครั้งเดียวโดยไม่จำกัด

4. ความอดทนของกล้ามเนื้อ (Muscle Endurance) หมายถึง ความสามารถของกล้ามเนื้อที่ทำงานได้นานโดยไม่เสื่อมประสิทธิภาพ

5. ความคล่องแคล่วว่องไว (Agility) หมายถึง ความสามารถของร่างกายในการควบคุมการเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็วและตรงเป้าหมาย

6. ความอ่อนตัว (Flexibility) หมายถึง ความสามารถของร่างการในการเคลื่อนไหวให้ได้มุมมองของการเคลื่อนไหวอย่างเต็มที่ของแต่ละข้อ

7. ความอดทนทั่วไป (General Endurance) หมายถึง ความสามารถของระบบหายใจและไหลเวียนเลือดที่ทำงานได้นานต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ร่างกายมีการเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนที่